Saturday, September 26, 2009

VHF Impedance Bridge



เพื่อนสมาชิกเคยแมตช์สายอากาศแล้ว SWR ไม่ยอมลงซักทีหรือไม่ ??? ไม่ว่าจะปรับ จะตัด จะต่อตรงไหน SWR ก็ยังไม่ยอมลงมาต่ำในระดับที่ต้องการ แต่ถ้ามีเครื่องมือปรับแต่งสายอากาศ Antenna Analyzer อยู่ใกล้มือคงจะช่วยได้เยอะ ....อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าผมจะนำเสนอ Antenna Analyzer นะครับของแบบนั้นมันยากเกินไป แต่ผมจะขอนำเสนอ Impedance Bridge ที่สร้างง่าย ราคาถูก ใช้ประมาณค่า Impedance ของสายอากาศได้ดีในย่าน VHF ช่วยให้การแมตช์สายอากาศง่ายขึ้นเยอะ

อิมพิแดนซ์ (Z) ของสายอากาศประกอบด้วยค่า Resistance (R) และค่า Inductance (Capacitive or inductive :X) เขียนให้อยู่ในรูป complex ได้ว่า Z=R+jX ในสภาวะแมตช์ อิมพิแดนซ์ของสายอากาศจะมีค่าใกล้เคียงกับอิมพิแดนซ์ของเครื่องรับส่งวิทยุ นั่นคือ Z=50Ω ก็คืออิมพิแดนซ์เป็นค่า resistance 50Ω พอดี โดยไม่มีค่า inductance ทีนี้ในสภาวะไม่แมตช์ Z ก็จะไม่ใช่ 50Ω ซึ่งอาจะเป็น Z=65Ω หรือ Z=50+j20Ω หรือ Z=55-j15Ω นั่นคือค่า resistance ไม่เป็น 50Ω และ/หรือมีค่า inductance ที่ไม่เป็นศูนย์ร่วมด้วย ซึ่งถ้าเราใช้ SWR Meter มาอ่านค่าจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าสายอากาศมีค่าอิมพิแดนซ์เป็นเท่าไหร่ เนื่องจาก SWR Meter อ่านค่าออกมาในรูปแบบของอัตราส่วนของแรงดันที่ส่งออกไปกับแรงดันสะท้อนกลับ มา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าอิมพิแดนซ์ของสายอากาศมีค่า resistance ที่ไม่เป็น 50Ω หรือเป็นเพราะมีค่า inductance ที่ไม่เป็นศูนย์ ซึ่งถ้าเรารู้...อาจจะโดยประมาณไม่ต้องเที่ยงตรงมากก็ได้ว่าอิมพิมแดนซ์มัน เป็นเท่าไหร่เช่น รู้ว่ามีค่า inductance เป็น +20j ก็แสดงว่าต้องแมตช์ด้วย C เพื่อหักล้างค่า inductance ให้เป็นศูนย์ ...อะไรประมาณนี้ ก็จะแมตช์สายอากาศได้ง่ายขึ้น แต่เครื่องมือที่ใช้วัดค่าอิมพิแดนซ์แบบนี้ก็มีราคาค่อนข้างแพงทีเดียว

ผมจึงลองค้นหาวิธีการวัดอิมพิแดนซ์ของสายอากาศดูก็พบอยู่ในหลายเวปเหมือนกัน แต่ที่ดูง่ายและใ้ช้่งบประมาณไม่แพงมากก็จะเป็นของ VK2ZAY คุณ Alan Yate แต่ในตอนแรกคุณ Alan ไม่ได้ลง diagram หรือ schematic ของวงจรไว้จึงยากที่จะลองทำตามก็เลยลอง email ไปขอให้คุณ Alan ช่วยลงรายละเอียดวงจรให้ ด้วยความรู้ภาษาอังกฤษแบบงูๆ ปลาๆ ประกอบกับความกรุณาของคุณ Alan ก็ได้ email ตอบกลับมาในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับการอัพเดตรูปวงจรลงเวปให้ในทันที


รูปวงจร VHF Impedance Bridge

จากวงจรข้างต้นก็ใช้หลักการของ bridge เมื่อต่อเครื่องส่งวิทยุเข้าที่ Generator In และจุด X คือจุดที่เราต่อสายอากาศที่เราต้องการจะวัดมีอิมพิแดนซ์เท่ากับจุด Reference หรือจุดอ้างอิงเช่น เป็นดัมมี่โหลด ก็จะเกิดสภาวะ Balance ทำให้ไม่มีกระแสไหลใน bridge โดยที่เราใช้มิเตอร์ต่อเพื่อวัดกระแสที่ไหลในขา bridge หากเกิดภาวะสมดุลเข็มมิเตอร์ก็จะไม่กระดิกนั่นเอง หลายคนอาจสงสัยแล้วว่าแล้วจะวัดอิมพิแดนซ์ได้อย่างไร??? คำตอบก็อยู่ที่หลักการพื้นฐานของบริดจ์นั่นเอง สมมติว่าแทนทีดัมมี่โหลดที่จุด reference ด้วยความต้านทาน 50Ω รวมกับค่า C ซักตัวหนึ่งอิมพิแดนซ์อาจจะเป็น Z=50-j20Ω แล้วพอเราเอาสายอากาศมาต่อที่จุด X แล้วดันเกิดภาวะสมดุลคือเข็มมิเตอร์ไม่กระดิก เราก็สามารถอนุมานได้ว่าอิมพิแดนซ์ของสายอากาศต้องมีค่าเท่ากับอมพิแดนซ์ที่ จุด Reference เมื่อเราต้องการแมตช์สายอากาศต้นนี้เราก็ใช้ค่า L จากขดลวดเพื่อมาหักล้างกับค่า capacitive inductance ที่เกิดขึ้น อันนี้คือตัวอย่างคร่าวๆ นะครับ คงจะพอมองภาพออกแล้ว




รูป VHF Impedance Bridge ของ VK2ZAY

VK2ZAY ได้ทดลองสร้าง Impedance Bridge นี้จากหนังสือ Experimental Methods in RF Design โดยกล่าวว่าสามารถใช้งานได้จนถึงย่าน UHF ในบ้านเราก็จะสามารถใช้งานที่ความถี่ 245MHz ได้อย่างสบาย ในการสร้างนี้สำคัญที่สุดคือการปรับแต่งให้ bridge สมดุลคือเข็มไม่กระดิกเมื่อต่อกับดัมมี่โหลด 50Ω เป็นค่าอ้างอิงพื้นฐาน เนื่องจากที่ความถี่สูงในระดับ VHF นี้ย่อมต้องมีค่าความจุแฝงเกิดขึ้นในขั้นตอนการสร้างไม่มากก็น้อย กำลังส่งที่ใช้ในวงจรนี้ควรใช้กำลังส่งที่ต่ำที่สุดโดยใช้เพียง 0.1W ก็เพียงพอแล้ว สำหรับใน Antenna Analyzer นั้นจะมีภาค VCO เป็นตัวกำเนิดความถี่กำลังส่งต่ำเสมือนเป็นเครื่องส่งที่ความถี่ที่ต้องการ นั่นเอง แต่เราอาจจะใช้เครื่องส่งวิทยุมือถือของเราต่อร่วมกับวงจรลดทอนกำลัง Attenuator มีวิธีการสร้างในหนังสือรวมโครงงานวิทยุสมัครเล่นเล่ม 1 เล่มสีแดง เชื่อว่าหลายคนคงจะมี

สิ่งสำคัญเมื่อเรารู้ค่าอิมพิแดนซ์โดยประมาณของสายอากาศแล้วก็คือ จะต้องรู้ว่าต้องปรับ ต้องเพิ่ม ต้องลด ส่วนไหนของสายอากาศอย่างไร เพื่อจะชดเชยอิมพิแดนซ์ที่ไม่แมตช์นั้นโดยที่เราไม่ต้องคาดเดาโดยดูแต่เพียง ค่า SWR เพียงอย่างเดียว หวังว่าคงจะช่วยให้การแมตช์สายอากาศของเพื่อนๆ ทำได้ง่ายขึ้นนะครับ

Diamond X200 Antenna



สายอากาศของ diamond ประเทศญี่ปุ่นตระกูล X ที่คุ้นหูในเมืองไทยก็จะมี X510, X700 วันนี้ขอนำเสนอสายอากาศตระกูล X เหมือนกันแต่เป็น X200 เป็นสายอากาศ 2 ย่านความถี่ 145MHz และ 430MHz อัตราขยายผู้ผลิตระบุว่าในย่าน 2m ประมาณ 6dB และในย่าน 70cm ประมาณ 8dB ความยาวโดยรวมประมาณ 2.5m ถึงจะมีอัตราขยายไม่มากนักแต่ก็น่าลองสร้างดู

ต้นแบบมาจากนักวิทยุสมัครเล่นรัสเซียนามว่า UA9CR ได้แสดงไว้ แต่มีส่วนที่แตกต่างจากของจริงตรงที่ใช้ C match ตัวเดียว จากการค้นหารูปจริงของสายอากาศ X200 พบว่าใช้ C matching 2 ตัวตามรูปข้างล่าง



ต่อมา RV9CX เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นชาติเดียวกันปรับปรุงการ matching ใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั้งย่าน 2m และ 70cm ซึ่งจะเห็นว่าการพันคอยล์ matching ของ UA9CR นั้นใกล้เคียงกับของจริงมากกว่า แต่ของ RC9CX ก็ใช้ C maching เหมือนกับของจริงเช่นเดียวกัน ... เอาละสิจะเชื่อใครดี ??? ต้องไปลองสร้างกันดูเองนะครับ

Thursday, September 24, 2009

สูตรคำนวนทำสายยากิ 245Mhzหรือแบบทำสายอากาศใน100วัตท์เล่มที่71,80,82

*****ขออนุญาตินิตยสาร100วัตต์นำเอกสารชุดนี้มาเผยแพร่น่ะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆท่าน******
เล่ม 79 7E ย่าน245



เล่ม 80 4E ย่าน144



เอาเล่ม เล่ม 81 3E 145/245

Bandpass Filter 2meter ชนิด low loss

ตามที่ เคยให้วงจรไว้ครับ ใช้ได้ถึง 100watt ใช้ c ที่ทนไฟได้สูงๆ เช่น 2.5kv เป็นต้น เหมาะกับเครื่อง 2meter ที่ชอบรับ
เฟส อะไรก็ไม่รู้ และเวลาส่งก็ไปกวน ทีวีข้างบ้านโดนด่าทุกทีเวลาขึ้น วิทยุ

วงจรเดินสายไฟครับ



หลังจากประกอบเสร็จแล้ว




ทดลอง sweep สัญญาณ 500khz-500mhz ให้ตัว BANDPASS FILTER แล้ววัดสัญญาณดู ว่าความถี่อะไรผ่านได้สะดวกด้วย
spectrum analyzer ก็ได้ผลตามรูป




เปรียบเทียบกัน ระหว่างใช้ BANDPASS กับไม่ใช้ครับ
ต่างกันไป -0.66dbm ที่ความถี่ 144.5mhz


ทดลองต่อเข้ากับตัว return loss bridge ปรับ trimmer เล็กน้อย ค่า swr
ก็ใช้ได้ที่ความถี่ 145.380mhz




ลองทำตามแบบดูครับ 2meter ต่อเข้า coil อันใหญ่ สายอากาศต่อเข้า คอยล์ 1รอบ
ใช้ลวดเบอร์ 14swg ครับ

Tuesday, September 22, 2009

สายอากาศ ชิงหลิว ย่าน 245 MHz เครื่องแดง

ลองคำนวณ ดูระยะต่างๆ เพื่อทำ สายอากาศ ชิงหลิว ย่าน 245 MHz จะได้ดังรูป
ชิงหลิว245.jpg

2 meter 5/8 ASTRA Antenna Plan



Saturday, September 19, 2009

5E ตลับเมตร



ตรียมชิ้นงาน
สายวัดตลับเมตร ยาว 5 เมตร 1 ตัว
ท่อ pvc 4 หุน ยาว 120 ซม.
ท่อpvc 4 หุน สามทาง5 ตัว หรือมีสี่ทาง ก็ดี 4 ตัว
สายรัด แบบเหล็ก ขนาด 1 นิ้วครึ่ง 10 ตัว
สายนำสัญญาณ RG 58 ยาว 1.36 เมตรพร้อมขั้ว PL259
ลวดทองแดงยาว สายไฟตามบ้านขนาด 1.5 ยาว5 นิ้ว 1 เส้นไว้ทำUแมชท์ชิ่ง
SWR. หัวแร้ง ตะกั่ว ตลับเมตร
วิธีการทำ
นำท่อ สามทางมาเจาะทะลุเป็นสี่ทาง เพราะหาข้อต่อ สี่ทางไม่ได้ เพื่อให้ท่อ สี่หุนร้อยทะลุเข้าไปได้
ให้เป็นลักษณะกากบาทตัวสุดท้ายเอาไว้ปิดด้านหน้ายากิ
วัดระยะห่างระหว่างอิลิเม้ีน ดังนี้ เอาเซนเตอร์ของแขนท่อสามทางนะครับ
รีเฟล็คเตอร์เป็นตัวตั้ง คือ 0 ซม.
ไดเรคเตอร์ ห่างออกมา 31.0 ซม.
ดริเว้น 1 " 13.4 ซม.
ดริเว้น 2 " 25.0 ซม.
ดริเว้น 3 " 34.7 ซม.
ความยาวของอิลิเม๊นคือ
รีเฟล็คเตอร์ 100.1 ซม.
ไดเรคเตอร์ 49ซม.2 อัน (คือประกอบออกมาต้องยาว97.9ซม.)
ดริเว้น 1 87.4 ซม.
ดริเว้น 2 86.1 ซม.
ดริเว้น 3 84.9 ซม.
นำมาประกอบแต่ละชิ้นรัดสายรัดท่อให้เรียบร้อยแล้วเชื่อม สายนำสํญญาณ กับ ลวดทองแดงตัวUดังรูป
กางออกตั้งให้สูงจากพื้น 2 เมตรโดยประมาณและวัดค่าSWR.
ปรับแต่งโดย
ตัดลวดทองแดงก่อนทีละน้อยแล้วบัดกรีติดเข้าไปใหม่ แต่จากที่ผมทำแทบไม่ต้องปรับอะไรเลย


อันนี้เป็นจุดแมชชิีง ใกล้ๆครับ

เวลาเก็บก็พับดังรูป ง่ายดีครับ

สายอากาศ Dipole 2 Stack จากตลับเมตร

ในครั้งนี้ผมก็เลยทดลองสร้างสายอากาศ Dipole 2 Stack จากตลับเมตรดูบ้างเพราะสร้างได้ง่ายมากไม่มีงานอลูมิเนี่ยมที่แสนจะโหดร้าย และยากเข้ามาเกี่ยวข้องมีเพียงท่อ PVC และตลับเมตรเท่านั้นซึ่งตัดง่ายแสนง่ายรวมถึงเราจะได้ลองเฟสซิ่งสายให้เป็น ประสปการณ์ซึ่งก็เป็นครั้งของผมเหมือนกันครับ

วิธีทำ

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนดีกว่าครับว่าเจ้าสายอากาศนี้เราต้องออกแบบให้การจัด วางอย่างไรบ้างซึ่งผมก็ได้ทำแบบคล่าวๆมาให้เพื่อนๆลองทำตามได้ทั้งแบบสูตร 145Mhz และแบบที่เพื่อนๆต้องเอาไปคูณค่าแลมด้าเอาเองครับซึ่งจะใช้ได้ทุกๆย่านครับ



อุปกรณ์

มาดูอุปกรณ์ที่เราต้องใช้กันก่อนดีกว่าครับ
- ก็มีท่อ 1 นิ้ว ยาวประมาณ 4 เมตร
- ข้อต่อรูปตัวทีของท่อ 1 นิ้ว 4 ตัว
- แหวนโลหะลัดท่อ 4 ตัว
- ตลับเมตรขนาด 1 นิ้ว 1 ตลับ
- สายตระกูล RG อย่าง RG58 RG8 ส่วนผมใช้ RG58 เพราะประหยัดสตางค์



1.แล้วก็นำท่อมาตัดและนำข้อต่อมาจัดเรียงให้ได้คล้ายคลึงกับแบบและขนาดครับ

2.เสร็จแล้วตัดเทปตลับเมตรมาให้เท่ากับแบบแล้วยึดไว้ด้วยแหวนรัดท่อให้แน่น

3.ขูดสีเหลืองออกแล้วบักกรีสายนำสัญญาณเข้าไป



โดยนำเอาเนอร์หรือซิลไว้ด้านบนของไดโพลและนำอินเนอร์ไว้ด้านล่างของไดโพล

สายที่ป้อนสัญญาณให้ไดโพลจะมี 2 ชุดเพราะมี 2 สแตก โดยแต่ละชุดต้องมีความยาว 170.5cm ตามสูตรของสายเฟส 145Mhz ตระกูล RG



โดยผมขนานสายนำสัญญาณด้วยการนำมามัดรวมกันแล้วบักกรีเข้าด้วยกันซึ่งทำแบบลูกทุ่งซะหน่อยครับ

แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ



ผล การทดลองปรากฏว่า VSWR สูงโด่งแต่คงเป็นเพราะผมตัดสายนำสัญญาณไม่ค่อยแม่นเลยไปลงที่ 136Mhz แต่ย่าน 145Mhz VSWR วัดได้ที่ 1.7 ซึ่งสูงไปหน่อยครับ แต่จริงๆก็แก้ไขได้ด้วยการขยับสายเฟสและทริมตัวไดโพลครับ

ขอโทษด้วยครับที่ไม่ค่อยละเอียดเลยเพราะว่าตอนแรกลืมถ่ายรูปไว้ครับ

เอาเป็นว่ามาให้แนวคิดเพื่อนๆที่ไม่ถนัดงานอลูมิเนี่ยมแต่อยากลองทำสายอากาศคอลิเนียร์ดูนะครับ

ขอบคุณที่อ่านครับ

QRU 73/88